
เบาหวานใกล้ตัวคุณ แอดไลน์เพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ
กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือ ชื่อภาษาไทยเรียกว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นั้นเป็นชื่อเรียก กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากไลฟ์สไตล์วิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง เหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด ที่มา : สสส.
1. กรรมพันธุ์ เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่งแต่ผู้ที่มีญาติสายตรงอาทิเช่นพ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวานก็ไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเบาหวานทุกรายทั้งนี้ขึ้นกับการควบคุมดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น 2. โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักมากไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดีหรือนัยหนึ่งเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น 3. ผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นตับอ่อนจะเสื่อมการทำงานลงทำให้การสังเคราะห์และการหลั่งอินซูลินลดลง 4. โรคของตับอ่อน เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มเหล้ายาหรือไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 5. การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเมื่อยังเป็นเด็ก เช่น หัดหัดเยอรมันคางทูมโดยพบว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวมีโอกาสเป็นเบาหวานเมื่อายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้ป่วย 6. การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ยาขับปัสสาวะยาคุมกำเนิดบางชนิดซึ่งยาเหล่านี้ทำให้มีการสร้างน้ำตาลที่ตับมากขึ้นหรือเกิดการตอบสนองของอินซูลินแย่ลง 7. การตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการฮอร์โมนจากรกซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานของอินซูลิน ที่มา : สสส. ![]() สำหรับประเทศไทย พบว่าคนไทยที่อายุมากกว่า 15 ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 6.9 โดยที่มีประชาชนที่อยู่ในวัยทำงานอายุระหว่าง 45-59 ปี เป็นเบาหวานถึงร้อยละ 10.1 และผู้ที่อายุ 30-44 ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 3.4 นอกจากจำนวนจะสูงขึ้นแล้วยังพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน และผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคตอีกกว่าร้อยละ 10 ที่มา : สสส.
* ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน * ควบคุมโภชนาการให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการการออกกำลังกายรวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค * ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอโดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใดและระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม
***ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด
|